วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2558


สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์แห่งการเรียนชดเชย ซึ่งกลุ่มเรียนของเราอาจารย์ก็ได้นัดให้มาสอบร้องเพลงและแจกรางวัลเด็กดี ซึ่งในการสอบร้องเพลง เพลงจะมีทั้งหมด 20 ที่อาจารย์ได้แจกๆและฝึกให้ร้องไปในแต่ละสัปดาห์ โดยการที่จะจับฉลากใครจับได้เพลงไหนก็จะได้สอบร้องเพลงนั้น คนละ 1 เพลง




   โดยที่แต่ละคนก็ได้เลือกเพลงแล้วก็สอบร้องกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งก่อนหน้านี้โดยส่วนตัวเป็นอะไรที่เครียดมากกับการจะสอบครั้งนี้ แต่อาจารย์ก็ก็ทำให้ความเครียดนั้นหายไป เพราะเทคนิควิธีการสอบน่ารักๆของอาจารย์ ซึ่งทำให้นักศึกษาทุกคนสนุกสนานและมีความสุขกับการสอบร้องเพลงในครั้งนี้มาก แต่ด้วยเหตุการที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น คือไฟดับ มืดสนิท แต่กลุ่มเราไม่หวั่นคะ ไฟดับไม่ใช่อุปสรรค์ในการร้องเพลงและเต้นของพวกเรา ถึงไฟดับ นักศึกษาก็ยังสนุกสนานกันต่อ และอาจารยืก็น่ารักมาก อยู่ฟังพวกเราต่อโดยที่ไม่ลุกเดินหนีออกไปข้างนอก ซึ่งเป็นการเรียนก่อนปิดคอร์ดที่มีความสุขกันมากๆ



เริ่มเรียนตอนช่วงแรกไฟสว่างปกติ




ช่วงกลางของการเรียนไฟดับแต่เราก็ยังไปต่อได้สบายมาก


   ไฟก็ดับยาว จนทุกคนร้องเพลงเสร็จ อาจารย์และนักศึกษาก็พูดคุยกัน อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำต่างๆด้วยความห่วงใยที่มีต่อนักศึกษาทุกๆคน สุดท้ายเราก็ร้องเพลงให้อาจารย์คือเพลง " ขอบคุณที่รักกัน " 

ของคุณที่รักกัน 
ของคุณทุกครั้งที่คอยปลอบฉัน ในวันที่ปัญหาถาโถมเข้ามาใส่
จะตอบแทนความรักที่หาไม่ได้จากที่ไหน
ก็รู้ดีว่าไม่พอ แต่ขอทำให้ดีที่สุด ...





การนำไปปรับใช้

  สามารถนำเอาเทคนิคและวิธีการสอนที่ดีๆแบบนี้ไปใช้ได้ในชีวิตการสอนจริงของพวกเราในอนาคต


ประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม เต็มที่กับการทำกิจกรรมในครั้งนี้ มีความสุขสนุกสนาน เพลิดเพลิน กับการเรียนในวันนี้มาก โดยที่ไม่ต้องมานั่งมองนาฬิกาเลย ชอบเทคนิกวิธีการสอนของอาจารย์ แต่คงเสียดายมากๆ ถ้าปี4 นี้ จะไม่ได้เรียนดกับอาจารย์เบียร์เลย

เพื่อน : มีความตั้งใจ ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาพูดคุยให้ความรู้ ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันอย่างมีความสุข มีความสามัคคี ให้ความร่วมมือกันในทุกๆเรื่อง

อาจารย์ : ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เบียร์เป็นอย่างยิ่งที่ได้มอบความรุ้ต่างๆให้กับพวกเราอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเนื้อหาที่นำมาสอน กิจกรรมต่างๆทีนำมาให้ความรู้ ความรู้ต่างๆรอบตัวที่นำมาเล่าสู่กันฟัง สิงที่ดีๆที่ีได้มาแนะนำและบอกกล่าว ขอบคุณมากๆนะคะอาจารย์ นักศึกษาทุกคนคงรักอาจารย์เบียร์ เหมือนอย่างที่หนูรักคะ :) จากใจจริงๆ อยากเรียนกับอาจารย์เบียร์ไปทุกๆเทอมจนกว่าจะเรียนจบเลยคะ







วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   ในวันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยกิจกรรมตอบคำถามทายความเป็นตัวตนจากเหตุการณ์กระโดดร่ม โดยอาจารย์จะตั้งคำตาม ให้นักศึกษาตอบ แล้วมาเฉลยในตอนท้าย จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา คือ การเขียนแผน IEP ( โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล )

แผน IEP
   แผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของเขา

การเขียนแผน IEP
   - คัดแยกเด็กพิเศษ
   - ทราบปัญหาของเด็ก
   - ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มการช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ทักษะใด
   - เด็กสามารถทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง
   - แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

แผน IEP ประกอบด้วย
   - ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
   - ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
   - ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
   - เป้าหมายระยะยาวประจำปี/เป้าหมายระยะสั้น
   - ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
   - วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
   - ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง
   - ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
   - ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม


   หลังจากที่เราเรียนเนื้อหาเสร็จ อาจารย์ก็ให้เราแบ่งกลุ่ม เขียนแผน IEP กลุ่มละ 1 แผน 5 คะแนน







การนำไปปรับใช้

  สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการเขียนแผน IEP ให้กับเด็กพิเศษได้อย่างถูกต้อง


ประเมิน

ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน สนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาสอน ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการทำงานนกลุ่ม

เพื่อน : แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการเรียน ให้ความสนใจกับการสอนของอาจารย์ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน เนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชชน์และนำไปใช้ได้จริง เป็นสิ่งที่เราต้องเจอและต้องนำความรู้นี้ไปใช้ และอาจารย์ก็ชอบหากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ 







วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้เริ่มต้นด้วยเรื่องดีๆคะ คือ อาจารย์ได้นำสีไม้มาแจกนักศึกษาคนละ 1 กล่อง เพื่อใช้ในการทำงาน ทำการบ้านต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และจะต้องได้ใช้จริง







เขียนชื่อเรียบร้อยเหมือนเด็กปบมวัยเลยคะ กลัวหาย กลัวโดนขโมย



   หลังจากที่อาจารย์แจกสีไม้ครบกันทุกคนแล้ว อาจารย์ก็ได้มาเฉลยข้อสอบที่เราไม่ทำกันไปในสัปดาห์ก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และและแก้ไขข้อมูลที่ผิดไป ให้นักศึกษาเข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น แล้วอาจารย์ก็แจกชีทเพลงอีก 5 เพลง ดังนี้




   จากนั้นก็มาเข้าสู่เนื้อหาในรายวิชากันต่อ วันนี้เรียนเรื่องของ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย โดยมีหัวข้อหลักๆ ดังนี้
1. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
2. เป้าหมาย
3. ช่วงความสนใจ
4. การเลียนแบบ
5. การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
6. การรับรู้ การเคลื่อนไหว
7. การควบคุมกล้ามเนื้อ
8. ตัวอย่างอุปกรณืสำหรับเด็กปฐมวัย
9. ความจำ
10. ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
11. การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ






การนำไปปรับใช้

  สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปศึกษาเป็นความรู้ไว้ใช้ในการเรียนการสอนต่อไป


ประเมิน

ตนเอง : มีความตั้งใจสนใจกับการทำกิจกรรม เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ แต่งกายเรียบร้อย ให้ความสนใจกับการสอนของอาจารย์ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน หากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ แต่ละกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนล้วนแต่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง





วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   สำหรับสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบ จำนวน 5 ข้อ ซึ่งเป็นการถามและทบทวนความรู้ต่างๆที่ได้เรียนมาทั้งหมด เป็นข้อสอบเชิงคิดวิเคราะห์ ที่เน้นความเข้าใจ 











การนำไปปรับใช้

  เป็นการทบทวนความรู้ถ้าหากเจอสถานการณ์จริงต่างๆ เราจะสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง


ประเมิน

ตนเอง : คิดว่าทำได้บ้างในบางส่วน แต่อาจจะมีผิดพลาดขาดตกบกพร่องด้วย

เพื่อน : มีความตั้งใจในการทำข้อสอบ

อาจารย์ : เป็นอีกวิธีการสอนหนึ่งที่ช่วยให้นักศึกษาได้ความรู้จริงมากขึ้น




วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2558  เวลา 13.10-16.40 น.




   การเรียนในวันนี้ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ให้ทำแบบทดสอบโดย ให้บรรยายถึงบรรยากาศของสวนสตอเบอรี่ จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาในรายวิชา ซึ่งมีหัวข้อสำคัญหลักๆ ดังนี้

1.การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
2.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
3.การสร้างความอิสระ
4.ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
5.หัดให้เด็กลงมือทำเอง
6.จะช่วยเมื่อไหร่
7.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 2-3 ปี )
8.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 3-4 ปี )
9.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 4-5 ปี )
10.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( อายุ 5-6 ปี )
11.ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ
12.การเข้าส้วม
13.การวางแผนทีละขัั้น
14.สรุป




   ต่อมาอาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้ทำอีกเช่นเคย เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการบำบัดเด็กพิเศษได้ โดยมีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ใช้กระดาษ 100 ปอนด์ ขนาด A4 คนละ 1 แผ่น
2. จากนั้นให้เลือกสีคนละกี่สีก็ได้ตามใจชอบ
3. จากนั้นให้ระบายสีเป็นรูปวงกลม วงกลมละสี จนกว่าจะพอใจ
4. จากนั้นให้ตัดออกมาเป็นรูปรูปกลงเท่ากับที่ได้ระบายสีลงไป

   หลังจากที่ทำเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้มาพูดถึงวงกลมของแต่ละคนว่าใครใช้สีไหนก่อนหลัง แล้วมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง














การนำไปปรับใช้

  สามารถนำความรู้และกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ 

ประเมิน

ตนเอง : ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากติดธุระคะ ( อ้างอิงข้อมูลในการบันทึกจากเพื่อนคะ )









วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2558  เวลา 13.10-16.40 น.



   วันนี้เริ่มต้นด้วยการทบทวนการบ้านที่อาจารย์ให้ไว้ในสัปดาห์ก่อน คือ ให้ไปฝึกร้องเพลงมา มีทั้งหมด 6 เพลง คือ เพลงดวงอาทิตย์ เพลงดวงจันทร์ เพลงดอกมะลิ เพลงกุหลาบ เพลงนกเขาขัน เพลงรำวงดอกมะลิ ให้นักศึกษาร้องเพลงทั้งหมดนี้พร้อมๆกัน ก่อนเข้าสู่เนื้อหา



จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา วันนี้เรียนในหัวข้อ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา

 การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิดหรือพูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)


   แล้วก็ทำกิจกรรมท้ายชั่วโมง เป็นกิจกรรมศิลปะ คือ ลากเส้นตามเสียงเพลง ตามหวังหวะของเพลง แล้วก็ระบายสีตามตรงที่มีช่อง

ภาพกิจกรรม








ผลงานของคู่ดิฉัน


สำหรับกิจกรรมนี้ก็เป็นกิจกรรมศลปะเพื่อการบำบัดอารมณ์










การนำไปปรับใช้

  สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย เป็นการนำกิจกรรมศิลปะมาใช้ในการบำบัดผ่อนคลายอารมณ์ให้กับเด็กๆได้


ประเมิน

ตนเอง : มีความตั้งใจ เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีการโต้ตอบสนทนาร่วมกับอาจารย์  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ แต่งกายเรียบร้อย ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาพูดคุยให้ความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานมีความสุข

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน หากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้นักศึกษามีไอเดียในการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น แต่ละกิจกรรมที่นำมาก็มีประโยชน์อย่างมากและสามารถนำไปใช้ได้จริง








วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558  เวลา 13.10-16.40 น.



   การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรม คือ ให้วาดมือของตนเองโดยใช้มือข้างที่ไม่ถนัดและสวมถุงมือด้วย แล้วให้เราวาดมือเรานั้นลงไปพร้อมวาดรายละเอียดต่างๆของมือเราลงไปด้วย ไม่เน้นสวยแต่ให้เหมือนที่สุด

ภาพกิจกรรม



   จากนั้นก็เข้าสุ่เนื้อหาของรายวิชา วันนี้เรียนในหัวข้อ การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ มีหัวข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้

- ทักษะของครูและทัศนะคติ
- การฝึกเพิ่มเติม
- การเข้าใจภาวะปกติ
- การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
- ความพร้อมของเด็ก
- การสอนโดยบังเอิญ
- อุปกรณ์
- ตารางประจำวัน
- ทัศนคติครู
- ความยืดหยุ่น
- การใช้สหวิทยาการ
- การเปลี่ยนพฤติกรรม
- เทคนิกการให้แรงเสริม
- วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- การแนะนำหรือบอกบท
- ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- การกำหนดเวลา
- เด็กตักซุป
- การลดหรือหยุดแรงเสริม






การนำไปปรับใช้

  สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ เป็นการนำกิจกรรมศิลปะมาผ่อนคลายก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ต่อไป


ประเมิน

ตนเอง : เข้าเรียนสายนิดหน่อยแต่ก็สามารถตามกิจกรรมได้ทัน มีความตั้งใจ สนุกสนานกับการทำงาน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ แต่งกายเรียบร้อย  ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานมีความสุข

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน หากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้นักศึกษามีไอเดียในการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง


วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 13.10-16.40 น.








   วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงการเรียนด้วยกิจกรรมตอบคำถาม เป็นการทดสอบทางจิตวิทยา ชื่อกิจกรรม "รถไฟเหาะแห่งชีวิต" โดยอาจารย์มีคำถามมาให้ 5 ข้อ ให้ตอบตามความเป็นจริงเท่านั้น แล้วมาเฉลยเหมือนเป็นบททดสอบทายนิสัย จากนั้นก็มีการร้องเพลง 6 เพลง เป็นการเรียกสมาธิก่อนเข้าสู่บทเรียน






   จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งเรียนกันถึงเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ โดยมีหัวข้อหลักๆ ดังนี้
1. ทักษะทางสังคม
2. กิจกรรมการเล่น
3. ยุทธศาสตร์การสอน
4. การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
5. ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
6. การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
7. ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

   แล้วอาจารย์ก็ได้มีคำถามหลังเรียน คือ
- ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไร ?
อาจารย์ก็จะให้ตอบคำถามปากเปล่าทีละกลุุ่ม คำตอบก็ต้องแตกต่างกันออกไป

   แล้วสุดท้ายก็มีกิจกรรม คล้ายๆจะเป็นกิจกรรมศิลปะ โดยอาจารย์ให้กระดาษมาคู่ละ 1 แผ่น โดยมีอุปกรณ์คือสีเทียน คนละ 1 สี โดยมีกติกา ดังนี้
1. ให้เลือกว่าใครจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติ
2. ใครจะเป็นเส้นหรือเป็นจุด
3. จากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลงให้ฟัง แล้วลากเส้นเรื่อยๆตามจังวะของเพลง ส่วนคนจุดก็ให้จุดในส่วนที่อีกคนลากเส้นเป็นวงกลม โดยขนาดของจุดตามน้ำหนักจังหวะของเพลง แล้วสุดท้ายก็ให้วาดเส้นจากจุดเป็นรูปที่เรามองเห็น

ภาพกิจกรรม




 







การนำไปปรับใช้

  สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ประเมิน

ตนเอง : มีความตั้งใจ ฟังและตอบคำถาม แล้วมีการโต้ตอบสนทนาร่วมกับอาจารย์  มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมในห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาพูดคุยให้ความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานมีความสุข

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน หากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้นักศึกษามีไอเดียในการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น







วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   สำหรับวันนี้ก็มีกิจกรรมให้ทำร่วมกันในห้องเรียน จากนั้นก็มีเซอร์ไพร์วันเกิดอาจารย์ ซึ่งพวกเราได้เตรียมการร่วมใจกันซื้อเค้กมาให้อาจารย์ แล้วก็รับประทานร่วมกัน

ภาพความประทับใจ








   หนูก็ขอให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆนะคะ คิดหวังสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนา มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไร้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน ทั้งชีวิตการงานและครอบครัว เป็นอาจารย์ที่น่ารักของลูกศิษย์อย่างนี้ตลอดไปนะคะ



                                                         
      


วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   สำหรับการเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการพูดคุยทักทายกัน เป็นการเล่าข่าวคราวๆต่างสู่กันฟังก่อนจะเข้าสู่การเรียนการสอน แล้วก็มีกิจกรรมก่อนเรียนคืออาจารย์ได้เปิดรูปดอกลินลี่ให้ดู แล้วให้นักศึกษาวาดภาพตาม อาจารย์บอกว่า "ไม่เน้นสวย แต่ให้เหมือนที่สุด" ซึ่งความยากมันไม่ได้ต่างกันเลยคะ แล้วก็ให้เขียนบรรยายความรู้สึกที่ตัวเห็นจากภาพ


  



   จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาของรายวิชา วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม 

ความรู้ที่ได้รับ

ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็ก
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักจะทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังด้านบวก แต่ไม่ต้องให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางแก้ไข

ครูทำอะไรได้บ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อเสนอแนะในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบมี 4 แบบ ดังนี้
1. การบันทึกการสังเกต
2. การนับอย่างง่ายๆ
3. การบันทึกต่อเนื่อง
4. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

   เมื่อเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีเสร็จแล้ว อาจารย์ก็มีเพลงมาให้หัดร้องอีกเช่นเคย ในวันนี้เราร้อง 1 เพลง คือ เพลง ฝึกกายบริหาร





   ดูเนื้อเพลงเหมือนจะง่ายแต่ก็ร้องกันผิเพี้ยนจังหวะมาก อาจารย์เลยให้เป็นการบ้านไปหัดร้องมา แล้วมาฟังกันต่อในสัปดาห์หน้าคะ






การนำไปปรับใช้

   ได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์มากเพราะเราจะสามารถนำความรู้ในเรื่องนี้ไปใช้ได้จริง ซึ่งเหตการณ์ต่างๆนี้เราจะต้องเจอแน่นอนในชีวิตจริง การมีความรู้พื้นฐานนั้นจะทำให้เราสามารถรับมือกับปัญหาและหาวิธีการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม


ประเมิน

ตนเอง : มีความตั้งใจ เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย ฟัง คิดตาม แล้วมีการโต้ตอบสนทนาร่วมกับอาจารย์  มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมในห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาพูดคุยให้ความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานมีความสุข

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน มีความเป็นกันเอง หาเรื่องที่มีประโยชน์มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้อยู่เสมอ พร้อมทั้งหากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษา






วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนรวมกับเพื่อนในกลุ่มเรียนตอนเช้า โดยเริ่มจากอาจารย์ได้ทบทวนเพลงที่ให้ไปฝึกร้องกันมาในสัปดาห์ก่อน คือ เพลง นม  จากนั้นอาจารย์ก็ให้ฝึกร้องทุกเพลง มีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้
1. เพลงนม
2. เพลงอาบน้ำ
3.เพลงแปรงฟัน
4. เพลงพี่น้องกัน
5. เพลงมาโรงเรียน
   
   พอร้องเพลงเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้พูดคุยเรื่องแบบทดสอบที่ให้นักศึกษาทำว่าเรามีความรู้เดิมมากหรือน้อยเพียงใดจากนั้นก็เข้าสู้เนื้อหาที่จะต้องเรียนในวันนี้ คือ การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย มีหัวข้อหลักๆ คือ
1. รูปแบบการจัดการศึกษา
2. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
4. การเรียนร่วมบางเวลา
5.การเรียนร่วมแบบเต็มเวลา
6.ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
7. Wilson 2007
8. สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
9. ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

   เมื่อเรียนเนื้อหาจบแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาตอบคำถาม 3 ข้อ
1. การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นภาษาอังกฤษ เขียนอย่างไร
2. การเรียนรวมและการเรียนร่วมต่างกันอย่างไร
3.เด็กพิเศษที่เรียนรวมตั้งแต่แรก (ตั้งแต่อนุบาล) นักศึกษาคิดอย่างไรกับประโยคนี้






การนำไปปรับใช้

   สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมและเรียนร่วมในอนาคต ทำให้รู้ถึงความหมาย และความแตกต่างของการศึกษาในแต่ละแบบว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง


ประเมิน

ตนเอง : ไม่สบายไม่ได้ไปเรียนคะ อ้างอิงข้อมูลจากเพื่อน