วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 13.10-16.40 น.








   วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงการเรียนด้วยกิจกรรมตอบคำถาม เป็นการทดสอบทางจิตวิทยา ชื่อกิจกรรม "รถไฟเหาะแห่งชีวิต" โดยอาจารย์มีคำถามมาให้ 5 ข้อ ให้ตอบตามความเป็นจริงเท่านั้น แล้วมาเฉลยเหมือนเป็นบททดสอบทายนิสัย จากนั้นก็มีการร้องเพลง 6 เพลง เป็นการเรียกสมาธิก่อนเข้าสู่บทเรียน






   จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งเรียนกันถึงเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ โดยมีหัวข้อหลักๆ ดังนี้
1. ทักษะทางสังคม
2. กิจกรรมการเล่น
3. ยุทธศาสตร์การสอน
4. การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
5. ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
6. การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
7. ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

   แล้วอาจารย์ก็ได้มีคำถามหลังเรียน คือ
- ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไร ?
อาจารย์ก็จะให้ตอบคำถามปากเปล่าทีละกลุุ่ม คำตอบก็ต้องแตกต่างกันออกไป

   แล้วสุดท้ายก็มีกิจกรรม คล้ายๆจะเป็นกิจกรรมศิลปะ โดยอาจารย์ให้กระดาษมาคู่ละ 1 แผ่น โดยมีอุปกรณ์คือสีเทียน คนละ 1 สี โดยมีกติกา ดังนี้
1. ให้เลือกว่าใครจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติ
2. ใครจะเป็นเส้นหรือเป็นจุด
3. จากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลงให้ฟัง แล้วลากเส้นเรื่อยๆตามจังวะของเพลง ส่วนคนจุดก็ให้จุดในส่วนที่อีกคนลากเส้นเป็นวงกลม โดยขนาดของจุดตามน้ำหนักจังหวะของเพลง แล้วสุดท้ายก็ให้วาดเส้นจากจุดเป็นรูปที่เรามองเห็น

ภาพกิจกรรม




 







การนำไปปรับใช้

  สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ประเมิน

ตนเอง : มีความตั้งใจ ฟังและตอบคำถาม แล้วมีการโต้ตอบสนทนาร่วมกับอาจารย์  มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมในห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาพูดคุยให้ความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานมีความสุข

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน หากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ ทำให้นักศึกษามีไอเดียในการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น







วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   สำหรับวันนี้ก็มีกิจกรรมให้ทำร่วมกันในห้องเรียน จากนั้นก็มีเซอร์ไพร์วันเกิดอาจารย์ ซึ่งพวกเราได้เตรียมการร่วมใจกันซื้อเค้กมาให้อาจารย์ แล้วก็รับประทานร่วมกัน

ภาพความประทับใจ








   หนูก็ขอให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆนะคะ คิดหวังสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนา มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไร้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน ทั้งชีวิตการงานและครอบครัว เป็นอาจารย์ที่น่ารักของลูกศิษย์อย่างนี้ตลอดไปนะคะ



                                                         
      


วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้รับ
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558  เวลา 13.10-16.40 น.


   สำหรับการเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการพูดคุยทักทายกัน เป็นการเล่าข่าวคราวๆต่างสู่กันฟังก่อนจะเข้าสู่การเรียนการสอน แล้วก็มีกิจกรรมก่อนเรียนคืออาจารย์ได้เปิดรูปดอกลินลี่ให้ดู แล้วให้นักศึกษาวาดภาพตาม อาจารย์บอกว่า "ไม่เน้นสวย แต่ให้เหมือนที่สุด" ซึ่งความยากมันไม่ได้ต่างกันเลยคะ แล้วก็ให้เขียนบรรยายความรู้สึกที่ตัวเห็นจากภาพ


  



   จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหาของรายวิชา วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม 

ความรู้ที่ได้รับ

ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็ก
- เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักจะทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังด้านบวก แต่ไม่ต้องให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางแก้ไข

ครูทำอะไรได้บ้าง
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อเสนอแนะในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบมี 4 แบบ ดังนี้
1. การบันทึกการสังเกต
2. การนับอย่างง่ายๆ
3. การบันทึกต่อเนื่อง
4. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

   เมื่อเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีเสร็จแล้ว อาจารย์ก็มีเพลงมาให้หัดร้องอีกเช่นเคย ในวันนี้เราร้อง 1 เพลง คือ เพลง ฝึกกายบริหาร





   ดูเนื้อเพลงเหมือนจะง่ายแต่ก็ร้องกันผิเพี้ยนจังหวะมาก อาจารย์เลยให้เป็นการบ้านไปหัดร้องมา แล้วมาฟังกันต่อในสัปดาห์หน้าคะ






การนำไปปรับใช้

   ได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์มากเพราะเราจะสามารถนำความรู้ในเรื่องนี้ไปใช้ได้จริง ซึ่งเหตการณ์ต่างๆนี้เราจะต้องเจอแน่นอนในชีวิตจริง การมีความรู้พื้นฐานนั้นจะทำให้เราสามารถรับมือกับปัญหาและหาวิธีการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม


ประเมิน

ตนเอง : มีความตั้งใจ เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งการสุภาพเรียบร้อย ฟัง คิดตาม แล้วมีการโต้ตอบสนทนาร่วมกับอาจารย์  มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมในห้องเรียน

เพื่อน : มีความตั้งใจ ให้ความสนใจกับสิ่งที่อาจารย์นำมาพูดคุยให้ความรู้ ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนานมีความสุข

อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมก่อนสอน มีความเป็นกันเอง หาเรื่องที่มีประโยชน์มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้อยู่เสมอ พร้อมทั้งหากิจกรรมใหม่ๆมาเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษา